วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชการที่ 5


การปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พ.ศ.2435

สาเหตุ

ความเสื่อมของระบบศักดินา ระบบมูลนาย ทำให้กษัตริย์ไม่สามารถควบคุมกำลังคนได้อย่างแท้จริงกลายเป็นขุนนางที่มีอำนาจในการควบคุมกำลังคน

ความซ้ำซ้อนและความเลื่อมล้ำของการบริหารฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ทำให้มีการก้าวก่ายในการปฎิบัติราชการ
ภัยคุกคามจากลัทธิจักรวรรดินิยม ในสมัยรัชกาลที่ 4 ไทยต้องยอมรับรองสิทธิของฝรั่งเหนือดินแดนของเขมรส่วนนอกและฝรั่งเศสไม่ต้องรับรู้สิทธิของไทยเหนือเขมร

สมัยรัชกาลที่ 5 ไทยต้องสูญเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสถึง 4 ครั้ง ได้แก่ พ.ศ.2431 สูญเสียแคว้นสิบสองจุไทย วิกฤติการณ์ ร.ศ.112 เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง พ.ศ.2446 เสียฝั่งขวาแม่น้ำโขง พ.ศ.2449 เสียเขมรส่วนใน พ.ศ.2451 เสียดินแดนหัวเมืองมลายูให้แก่อังกฤษ


การปฎิรูปการปกครองที่สำคัญ

การปฎิรูปการปกครองส่วนกลาง

จัดรูปแบบบริหารราชการเป็นระบบกระทรวงจำนวน 12 กระทรวง เสนาบดีกระทรวงส่วนใหญ่เป็นเชื้อพระวงศ์ ทำให้ขุนนางถูกลดบทบาทและเสื่อมอำนาจ
สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินเพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ เพื่อทรงสอบถามการงานและปรึกษาเรื่องราวบางประการที่ทรงมีพระราชดำริ สมาชิกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสยามหนุ่ม ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตก ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนาง
ตั้งตำแหน่งสยามกุฎราชกุมารภายหลังวิกฤติการณ์วังหน้าเพื่อกำหนดผู้ที่จะขึ้นครองราชย์


ผล : ขุนนางถูกลดอำนาจ รัชกาลที่ 5 ทรงควบคุมการบริหารประเทศ



การปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาค

จัดตั้งระบบมณฑลเทศาภิบาลเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพทางการปกครองและการดูแลหัวเมืองอย่างใกล้ชิด ยกเลือกเมืองเอก โท ตรี หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองประเทศราชและเปลี่ยนมณฑล
ยกเลิกระบบกินเมือง เพราะมีข้าหลวงเทศาภิบาลมาดูเป็นหูเป็นจาแทนรัฐบาลจากส่วนกลาง
ให้สิทธิแก่ราษฎรในการเลือกผู้ปกครองตนเองเป็นครั้งแรก พ.ศ.2435 โปรดฯให้มีการทดลองเลือกตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้าน ที่อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ถือเป็นรากฐานของการบริหารการปกครองส่วนภูมิภาคแบบใหม่


ผล : สามารถสกัดกั้นภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยม แต่ได้รับการต่อต้านจากหัวเมือง ได้แก่ กบฏผีบุญทางภาคอีสาน กบฏเงี้ยวฝเมืองแพร่ทางภาคเหนือ กบฏเจ้าเจ็ดตนในภาคใต้



การปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่น

เปิดโอกาสให้ราษฎรมีส่วนในการบริหารท้องถิ่นของตนเองโดยการจัดตั้งสุขาภิบาล ซึ่งราษฎรมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาดและรักษาสาธารณะสมบัติ ถนนหนทาง การเก็บภาษีเพื่อนำเงินมาบำรุงท้องถิ่นของตน พ.ศ.2440 จัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ พ.ศ.2448 จัดตั้งสุขาภิบาลหัวเมืองที่ตำบลท่าฉลอม จ.สมุทรปราการเป็นครั้งแรก

ผล : เป็นการฝึกฝนให้ราษฎรได้มีโอกาสเรียนรู้การปกครองในระดับท้องถิ่นและบริหารงานเพื่อประโยชน์ของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น